วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2552

สรุปความรู้จากการเรียน เมื่อ 28 พ.ย. 2552

สรุปความรู้จากการเรียน เมื่อ วันที่ 28 พฤศจิกายน 2552

การสืบค้นข้อมูลด้วย Search Engine

Search Engine คือ เครื่องมือการค้นหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ต ที่ทุกคนสามารถหาข้อมูลผ่านอินเตอร์เน็ตก็ได้ โดยกรอก ข้อมูลที่ต้องการค้นหา หรือ Keyword (คีย์เวิร์ด) เข้าไปที่ช่อง Search Box แล้วกด Enter แค่นี้ข้อมูลที่เราค้นหาก็จะถูกแสดงออกมาอย่างมากมาย เพื่อให้เราเลือกข้อมูลตรงกับความต้องการของเรามากที่สุด โดยลักษณะการแสดงผลของ SearchEngine นั้นจะทำการแสดงผลแบบ เรียงอันดับ Search Results ผ่านหน้จอคอมพิวเตอร์ของเรา Search Engine โดยทั่วไปมี 3 ประเภท โดยมีหลักการทำงานที่ต่างกัน และการจัดอันดับการค้นหาข้อมูลก็ต่างกัน เพราะมีลักษณะการทำงานที่ต่างกัน ทำให้โดยทั่ว ๆ ไปแล้วจะมีการแบ่งออกเป็นหลาย ๆ ประเภท
ด้วยกัน ดังต่อไปนี้ คือ

1. Keyword Index เป็นการค้นหาข้อมูล โดยการค้นจากข้อความในเว็บเพจที่ได้ผ่านการสำรวจมาแล้ว จะอ่านข้อความ ข้อมูล อย่างน้อย ๆ ก็ประมาณ 200-300 ตัวอักษรแรกของเว็บเพจนั้นๆ

2. Subject Directories การจำแนกหมวดหมู่ข้อมูล ของการ Search Engine ประเภทนี้ จะจัดแบ่งโดยการ พินิจวิเคราะห์เนื้อหา รายละเอียด ของแต่ละเว็บเพจ ว่ามีเนื้อหาเกี่ยวกับอะไร โดยการจัดแบ่งแบบนี้ จะใช้แรงงานคนในการพิจารณาเว็บเพจ ซึ่งทำให้การจัดหมวดหมู่ขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของคนจัดหมวดหมู่แต่ละคน ว่าจะจัดเก็บข้อมูลนั้น ๆ อยู่ในเครือข่ายข้อมูลอะไร

3. Metasearch Engines จุดเด่นของการ Search Engine ด้วยวิธีการนี้ คือ สามารถเชื่อมโยงไปยัง Search Engine ประเภทอื่น ๆ และยังมีความหลากหลายของข้อมูล แต่การ search ด้วยวิธีนี้ มีจุดด้อย คือ วิธีการนี้จะ ไม่ให้ความสำคัญกับขนาดเล็กใหญ่ของตัวอักษร และมักจะผ่านเลยคำประเภท Natural Language ( ภาษาพูด) ดังนั้น หากคุณจะใช้ Search Engine แบบนี้ละก็ ขอให้ตระหนักถึงข้อบกพร่องเหล่านี้ด้วย

การเลือกใช้ Search Engine คุณจะต้องเข้าใจว่า วิธีการแต่ละวิธีมีจุดเด่นและจุดด้อย แตกต่างกันไป ฉะนั้นหากคุณจะค้นหาข้อมูลละก็ คุณต้องเลือกวิธีการค้นหาข้อมูลที่เหมาะสมกับ ความละเอียดถูกต้อง ของข้อมูลที่คุณต้องการด้วย


ประโยชน์ของ Search Engine

เครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา (Search Engine) มีประโยชน์อย่างมากต่อผู้ใช้งานอินเตอร์เน็ตทั่วไป เนื่องจากข้อมูลข่าวสารบนโลกอินเตอร์เน็ตมีมากมายมหาศาล และเมื่อผู้ใช้ต้องการข้อมูลสารสนเทศใดๆ จึงจำเป็นต้องมีเครื่องมือที่ช่วยในการค้นหา เพื่อให้ได้มาซึ่งข้อมูลสารสนเทศที่ผู้ใช้งานต้องการ

Search Engine บนอินเตอร์เน็ต

ปัจจุบันนี้เครื่องมือที่ใช้ค้นหาข้อมูลสารสนเทศบนอินเตอร์เน็ตมีอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นเครื่องมือค้นหาข้อมูลที่เป็นของต่างประเทศ และเครื่องมือค้นหาข้อมูลที่เป็นของประเทศไทย

1. Search Engine ต่างประเทศ

1.1 Google Search
คือ ผู้ให้บริการ Search Engine ที่ใหญ่ที่สุดในโลก และมีผู้นิยมใช้งานมากจากผู้เล่นอินเตอร์เน็ตทั้งหมด โดยที่ Google Search Engine ก่อตั้งโดยลาร์รี เพจ (Larry Page) และเซอร์เกย์ บริน(Sergey Brin) เริ่มต้นพัฒนามาจากโครงงานวิจัยซึ่งเป็นวิทยานิพนธ์ ในช่วงที่กำลังศึกษาปริญญาเอกอยู่ที่ มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด สหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1996 โดยใช้ชื่อโครงงานว่า แบ๊กรับ โดยเน้นเนื้อหาในการค้นหาข้อมูลในอินเทอร์เน็ต ทั้ง 2 ได้ตัดสินใจทดสอบประสิทธิภาพของระบบการค้นหาของตน โดยจดทะเบียนโดเมนเนม Google วันที่ 15 กันยายน ค.ศ. 1997 ภายหลังได้ก่อตั้งบริษัทชื่อ กูเกิล ในปี ค.ศ. 1998
ผู้ใช้งานสามารถค้นหาข้อมูลจากข้อความ หรือตัวอักษรที่พิมพ์เข้าไป แล้วทำการค้นหาข้อมูล รูปภาพ หรือเว็บเพจที่เกี่ยวข้องนำมาแสดงผล เว็บไซต์ Google ซึ่งได้รับความนิยมอย่างมากในกลุ่มผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่ต้องการค้นหาข้อมูล

เว็บไซต์ Google แบ่งหมวดหมู่ของการค้นหาหลักๆออกเป็น 4 หมวดหมู่ด้วยกัน ดังนี้คือ

- เว็บ (Web) คือการค้นหาข้อมูลในรูปแบบของเว็บไซต์ต่าง ๆ ทั่วโลก โดยการแสดงผลจะแสดงเว็บไซต์ที่มีคำที่เป็น Keyword อยู่ภายเว็บไซต์นั้น

- รูปภาพ (Images) คือการค้นหารูปภาพจาก Keyword

- กลุ่มข่าว (News) คือการค้นหาข้อมูลที่เป็นเนื้อหาที่อยู่ในข่าว ซึ่งมีการระบุชื่อผู้เขียนข่าหัวข้อข่าว วันที่และเวลาที่โพสข่าว

- สาระบบเว็บ (Web Directory) Google มีการจัดประเภทของเว็บไซต์ออกเป็นหมวดหมู่ ซึ่งเราสามารถค้นหาเว็บในเรื่องที่ต้องการตามหมวดหมู่ที่มีอยู่แล้วได้เลย

ใช้ Google Search Bar บน Browser เป็นเหมือนพจนานุกรม
ง่ายๆเลย ค้นหาคำจำกัดความสำหรับคำที่เราต้องการ หาความหมายของคำนั้นๆ หรือ "Keyword" นั้นๆ
นอกจากนี้วิธียังมีคุณประโยชน์หากคุณไม่แน่ใจว่าการสะกดคำ ของเจ้า "Keyword" นั้นๆถูกหรือไม่

ใช้ Google ตรวจสอบเวลาในประเทศอื่นๆ
Google สามารถบอกคุณได้ถึงเวลาประเทศอื่นจาก Google Search Bar เช่น 'time Tokyo' จะเห็นเวลาที่อยู่ในโตเกียว

Google สามารถบอกอัตราต่างๆได้
หากคุณต้องการค้นหาอย่างเร่งรีบกับ วิธีการแปลงสกุลเงิน,น้ำหนักและมาตรฐาน อื่นๆ แน่นอน Google ทำได้

Google เป็นเครื่องคิดเลข ได้ค่ะ
Google Searc Bar ของคุณเป็นมากยิ่งกว่าในแอปพลิเคชันเครื่องคิดเลขที่มาพร้อมกับ Windowsซะอีก ลอง search คำว่า "845+62+31)/5" ดูสิคุณจะทราบผลลัพธ์ ของมันทันที นอกจากนี้ยังคำนวณเปอร์เซ็นต์ ต่างๆได้ด้วย

Google สามารถค้นหา MP3 และเพลงฟรีออนไลน์ได้
เข้าใจว่าข้อนี้พวกคุณเข้าใจถ่องแท้เลยล่ะ แต่ใครจะไปรู้ล่ะว่า Google มี algorithm ในการ Search หาเพลง mp3 ที่คุณต้องการนี่คือสิ่งที่คุณต้องพิมพ์

การลิงข้อมูล โดยใช้โปรแกรม Microsoft Excel

การจัดแบ่ง Sheet หรือ File เพื่อจัดเก็บตารางข้อมูล
ใน Workbook หรือ File สามารถแบ่งเป็น Sheet ได้ไม่จำกัด ขึ้นกับหน่วยความจำของ PC ที่ใช้ ซึ่งช่วยจัดแบ่งฐานข้อมูลออกเป็นเรื่องต่างๆแยกออกจากกัน ตารางข้อมูลต่างเรื่องแยกเก็บลงในต่าง Sheet กัน ถ้า File ที่จัดเก็บข้อมูลมีขนาดใหญ่มาก ก็สามารถแยกเก็บใน Sheet ของต่าง File กัน ผู้ที่คุ้นเคยกับการ Link ข้อมูลใน Excel จะทราบดีว่า ไม่ว่าข้อมูลจะเก็บไว้ในต่าง Sheet หรือต่าง File กันก็ตาม เราสามารถใช้ข้อมูลเหล่านั้นและสร้างสูตร Link กันได้เหมือนกับว่าข้อมูลทั้งหมดอยู่ใน Sheet เดียวกันนั่นเอง
เมื่อใดจะแยกเก็บข้อมูลต่าง Sheet กัน และเมื่อใดจะแยกขึ้น File ใหม่ ขอให้พิจารณาดังนี้

1. เก็บตารางข้อมูลลงไปใน Sheet แยกกันตามตารางฐานข้อมูลซึ่งจำเป็นตามหลัก
Relational Database ให้ใช้ Sheet หนึ่งสำหรับเก็บตารางข้อมูลเรื่องเดียวเท่านั้น
2. อย่าแยก File ถ้าไม่จำเป็น
3. บันทึกข้อมูลติดต่อกันลงไปในตารางข้อมูลเรื่องหนึ่งใน Sheet หนึ่งๆเรื่อยไป อย่า
แยก Sheet ถ้าไม่จำเป็น เช่น บันทึกรายการขายสินค้าทั้งปีลงไปใน Sheet เดิม โดยไม่จำเป็นต้องแบ่งแยก Sheet จัดเก็บข้อมูลออกเป็นรายเดือน เป็น Sheet ละเดือนแต่อย่างใด
4. ถ้าข้อมูลในตารางข้อมูลเรื่องหนึ่งๆมีปริมาณมาก ให้เลือกแยก File ดีกว่าแยก
Sheet เพื่อช่วยลดปริมาณข้อมูลซึ่งต้องเปิดขึ้นมาใช้งานพร้อมกันในแต่ละครั้ง

วิธีบริหารจัดการ Link

ประโยชน์จากการ Link ที่เห็นได้ชัดที่สุด คือ ช่วยให้ไม่ต้องบันทึกข้อมูลซ้ำแล้วซ้ำอีก แทนที่จะต้องเตรียมข้อมูลเรื่องเดียวกันไว้ทุกชีท ขอเพียงสร้างตารางฐานข้อมูลส่วนกลางไว้ในชีทหนึ่ง จากนั้นจึงสร้างสูตร Link นำข้อมูลไปใช้ที่ใดต่อก็ได้ แถมไม่จำเป็นต้องเปิดไฟล์ต้นทางขึ้นมาใช้เพร้อมกับไฟล์ปลายทาง ข้อมูลก็ยังมีให้ใช้งานเมื่อสร้างสูตร Link ข้ามไฟล์เป็นแล้ว ผู้ใช้ Excel จะได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่ ต่อเมื่อเข้าใจถึงที่ไปที่มาของข้อมูลในระบบการ Link ภายในโปรแกรม Excel และตัวผู้ใช้ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมมการใช้งานใหม่ให้เข้ากับระบบการ Link อีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น