ใบงานที่ 1
ใบงานการจัดการนวัตกรรมและสารสนเทศ
อธิบายความหมายของคำสำคัญดังต่อไปนี้ พร้อมกับยกตัวอย่าง
(ศึกษากรณีศึกษาการจัดนวัตกรรมและสารสนเทศในสถาบันการศึกษา)
การจัดการ / การบริหาร
คำว่า “การจัดการ” (management) จะเน้นการปฏิบัติการให้เป็นไปตามนโยบาย (แผนที่วางไว้) ซึ่งนิยมใช้ในภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งเพื่อมุ่งแสวงหากำไร (profits) หรือกำไรสูงสุด (maximum profits) สำหรับผลประโยชน์ที่จะตกแก่สาธารณะถือเป็น
วัตถุประสงค์รองหรือเป็นผลพลอยได้ (by product) เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงแตกต่างจากวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งหน่วยงานภาครัฐที่จัดตั้งขึ้นเพื่อให้บริการสาธารณะทั้งหลาย (public services) แก่ประชาชน การบริหารภาครัฐทุกวันนี้หรืออาจเรียกว่า การบริหารจัดการ (management administration) เกี่ยวข้องกับภาคธุรกิจมากขึ้น เช่น การนำแนวคิดผู้บริหารสูงสุด (Chief Executive Officer) หรือ ซีอีโอ (CEO) มาปรับใช้ในวงราชการ การบริหารราชการด้วยความรวดเร็ว การลดพิธีการที่ไม่จำเป็น การลดขั้นตอนการปฏิบัติราชการ และการจูงใจด้วยการให้รางวัลตอบแทน เป็นต้น นอกเหนือจากการที่ภาครัฐได้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนหรือภาคธุรกิจเข้ามารับสัมปทานจากภาครัฐ เช่น ให้สัมปทานโทรศัพท์มือถือ การขนส่ง เหล้า บุหรี่ อย่างไรก็ดี ภาคธุรกิจก็ได้ทำประโยชน์ให้แก่สาธารณะหรือประชาชนได้เช่นกัน เช่น จัดโครงการคืนกำไรให้สังคมด้วยการลดราคาสินค้า ขายสินค้าราคาถูก หรือการบริจาคเงินช่วยเหลือสังคม เป็นต้น
คำว่า “ การบริหาร ” (administration) มีรากศัพท์มาจากภาษาลาติน “administatrae” หมายถึง ช่วยเหลือ (assist) หรืออำนวยการ (direct) การบริหารมีความสัมพันธ์หรือมีความหมายใกล้เคียงกับคำว่า “minister” ซึ่งหมายถึง การรับใช้หรือผู้รับใช้ หรือผู้รับใช้รัฐ คือ รัฐมนตรี สำหรับความหมายดั้งเดิมของคำว่า administer หมายถึง การติดตามดูแลสิ่งต่าง ๆ
“ การบริหาร ” (Administration) จะใช้ในการบริหารระดับสูง โดยเน้นที่การกำหนดนโยบายที่สำคัญและการกำหนดแผนของผู้บริหารระดับสูง เป็นคำนิยมใช้ในการบริหารรัฐกิจ (Public Administration) หรือใช้ในหน่วยงานราชการ
การบริหาร คือกลุ่มของกิจกรรม ประกอบด้วย การวางแผน (Planning) การจัดองค์กร (Organizing) การสั่งการ (Leading/Directing) หรือการอำนวย และการควบคุม (Controlling) ซึ่งจะมีความสัมพันธ์โดยตรงกับทรัพยากรขององค์กร (6 M’s) เพื่อนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์และด้วยจุดมุ่งหมายสำคัญในการบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายขององค์กรอย่างมีประสิทธิภาพ และเกิดประสิทธิผลครบถ้วน
ตัวอย่าง การจัดการ เช่น การบริหารงานของบริษัทต่างๆ ในการดำเนินงานของธุรกิจ เพื่อให้เกิดกำไรสูงสุด มีประสิทธิผลและเกิดประสิทธิภาพ ได้แก่ การจัดการเกี่ยวกับการผลิตสินค้าเพื่อลดต้นทุนต่ำสุด
ตัวอย่าง การบริหาร เช่น การบริหารงานภายในหน่วยงานของรัฐตามอำนาจหน้าที่ ที่กฎหมายกำหนด ได้แก่ การบริหารสถานศึกษา การบริหารสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
นวัตกรรม
“นวัตกรรม” หมายถึงความคิด การปฏิบัติ หรือสิ่งประดิษฐ์ใหม่ ๆ ที่ยังไม่เคยมีใช้มาก่อน หรือเป็นการพัฒนาดัดแปลงมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้ว ให้ทันสมัยและใช้ได้ผลดียิ่งขึ้น เมื่อนำ นวัตกรรมมาใช้จะช่วยให้การทำงานนั้นได้ผลดีมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงกว่าเดิม ทั้งยังช่วย ประหยัดเวลาและแรงงานได้ด้วย
ตัวอย่าง เช่น - นวัตกรรมยานยนต์ชิ้นนี้ออกแบบทันสมัยล้ำหน้าไปในโลกอนาคต
- แบบบ้านยุคใหม่ไฮเทครักษาสภาพสิ่งแวดล้อม
เทคโนโลยีการศึกษา
เทคโนโลยีทางการศึกษา (Educational Technology) ตามรูปศัพท์ เทคโน (วิธีการ) + โลยี
(วิทยา) หมายถึง ศาสตร์ที่ว่าด้วยวิธีการทางการศึกษา ครอบคลุมระบบการนำวิธีการ มาปรับปรุงประสิทธิภาพของการศึกษาให้สูงขึ้นเทคโนโลยีทางการศึกษาครอบคลุมองค์ประกอบ 3 ประการ คือ วัสดุ อุปกรณ์ และวิธีการ (boonpan edt01.htm)
เทคโนโลยีการศึกษา หมายถึง การประยุกต์หลักการวิทยาศาสตร์กายภาพและวิศวกรรมศาสตร์ให้เป็นวัสดุ เครื่องมือ และอุปกรณ์ต่าง ๆ ที่สามารถนำมาใช้ในการเสนอ แสดง และถ่ายทอดเนื้อหาทางการศึกษาได้อย่างมีประสิทธิภาพ ความหมายนี้พัฒนามาจากความคิดของกลุ่มนักโสต-ทัศนศึกษา
ตัวอย่าง สื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ อินเตอร์เน็ต มัลติมีเดีย
ข้อมูล
ข้อมูล คือ ข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจ ข้อเท็จจริงที่เป็นตัวเลข ข้อความ หรือรายละเอียดซึ่งอาจอยู่ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ภาพ เสียง วีดิโอไม่ว่าจะเป็นคน สัตว์ สิ่งของ หรือเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับสิ่งต่าง ๆ ข้อมูลเป็นเรื่องเกี่ยวกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และต้องถูกต้องแม่นยำ ครบถ้วน ขึ้นอยู่กับผู้ดำเนินการที่ให้ความสำคัญของความรวดเร็วของการเก็บข้อมูล ดังนั้นการเก็บข้อมูลจึงเป็นการเก็บรวบรวมเกี่ยวกับข้อเท็จจริงของสิ่งที่เราสนใจนั่นเอง ข้อมูลจึงหมายถึงตัวแทนของข้อเท็จจริง หรือความเป็นไปของสิ่งของที่เราสนใจ
ตัวอย่าง เช่น จำนวนนักเรียนโรงเรียนอนุบาลนครศรีธรรมราช มี 3,500 คน
ลุงสมชายเลี้ยงวัวจำนวน 40 ตัว
สารสนเทศ
สารสนเทศ หมายถึง สิ่งที่ได้จากการนำข้อมูลที่เก็บรวบรวมไว้มาประมวลผล เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ตามจุดประสงค์ สารสนเทศ จึงหมายถึง ข้อมูลที่ผ่านการเลือกสรรให้เหมาะสมกับการใช้งานให้ทันเวลา และอยู่ในรูปที่ใช้ได้ สารสนเทศที่ดีต้องมาจากข้อมูลที่ดี
สารสนเทศ หมายถึง ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์ หรืออาจกล่าวได้ว่าสารสนเทศ เกิดจากการนำข้อมูล ผ่านระบบการประมวลผล คำนวณ วิเคราะห์และแปลความหมายเป็นข้อความที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้
ตัวอย่าง เช่น
1. กราฟแสดงจำนวนการซื้ออัลบัมเพลงร๊อค จำแนกตามอายุ
2. นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ขาดเรียน
3. สัดส่วนของนักเรียนโรงเรียนอนุบาลจังหวัดนครศรีธรรมราชและโรงเรียนบ้านคอกวัว 75 : 1
4. ข้อมูลสารสนเทศประวัติของนักเรียน
ระบบสารสนเทศ
ระบบสารสนเทศ (Information System ) หมายถึง ระบบที่มีการนำคอมพิวเตอร์
มาช่วยในการรวบรวม จัดเก็บ หรือจัดการกับข้อมูลข่าวสารเพื่อให้ข้อมูลนั้นกลายเป็น
สารสนเทศที่ดี สามารถนำไปใช้ในการประกอบการตัดสินใจได้ในเวลาอันรวดเร็ว
และถูกต้อง
ระบบสารสนเทศ ( Information System หรือ IS) คือ งานประยุกต์คอมพิวเตอร์และระบบสื่อสารโทรคมนาคมที่ทำหน้าที่รับข้อมูล (input) แล้วนำมาประมวลผล (process) ให้เป็นสารสนเทศ (information) ในรูปแบบต่าง ๆ ที่เป็นประโยชน์แก่การใช้งาน
ตัวอย่าง เช่น
1. ระบบประมวลผลรายการ หรือทีพีเอส (Transaction Processing System –TPS) เป็น
ระบบปฏิบัติการ ที่สนองการปฏิบัติงานประจำวัน เพื่อใช้ในการจัดการระดับต้น
และการปฏิบัติงานของพนักงาน เช่น การบันทึกรายการบัญชี การบันทึกการขาย
รายการฝาก-ถอนเงิน
2. ระบบสารสนเทศเพื่อการจัดการ (MIS) หรือระบบการจัดการรายงาน
(Management Reporting System –MRS)
3. ระบบสนับสนุนการตัดสินใจ หรือดีเอสเอส (Decision Support System –
DSS) ออกแบบเพื่อช่วยสนับสนุนกระบวนการของการตัดสินใจทางการ
จัดการให้มีประสิทธิผล
4. ระบบสารสนเทศสนับสนุนผู้บริหารระดับสูง หรือ อีเอสเอส (Executive
Support System - ESS) หรือบางครั้งอาจเรียกว่าระบบสารสนเทศเพื่อผู้บริหาร หรืออีไอเอส (Executive Information System – EIS) ออกแบบเพื่อให้สารสนเทศที่มีความสำคัญลำดับสูงต่อองค์การ เพื่อนำไปสู่การตัดสินใจการแก้ไขปัญหา และการวางแผนระยะยาว โดยมีข้อมูลทั้งจากภายในและภายนอกองค์การ และมีการนำเสนอที่ชัดเจน
ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา
ระบบสารสนเทศเพื่อการศึกษา หมายถึง การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานด้านการศึกษา อันได้แก่ การจัดเก็บข้อมูล และประมวลผลฐานข้อมูล การพัฒนาระบบสารสนเทศช่วยการเรียนการสอน การวางแผนและการบริหารการศึกษา การวางแผนหลักสูตร การแนะแนวและบริการ การทดสอบวัดผล การพัฒนาบุคลากร
ตัวอย่าง เช่น
1. ระบบสารสนเทศช่วยในการเรียนการสอน
2. การสอนทางไกลผ่านดาวเทียม
3. การประชุมทางไกลระบบจอภาพ
4. ระบบฐานข้อมูลการศึกษา
5. ระบบสารสนเทศเอกสาร
การสื่อสาร
การสื่อสาร (Communication) หมายถึง กระบวนการส่งข่าวสารข้อมูลจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสาร มีวัตถุประสงค์เพื่อชักจูงให้ผู้รับข่าวสารมีปฏิกริยาตอบสนองกลับมา โดยคาดหวังให้เป็นไปตามที่ผู้ส่งต้องการ
การสื่อสาร หมายถึง การติดต่อระหว่างมนุษย์ด้วยวิธีต่าง ๆ ซึ่งทำให้ฝ่ายหนึ่งรับรู้ความหมายจากอีกฝ่ายหนึ่ง และ เกิดการตอบสนอง ปัจจุบันการสื่อสารมีมากมายหลายวิธี
ตัวอย่าง เช่น วิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์ โทรศัพท์มือถือ ดาวเทียม ระบบโทรคมนาคม
หรือ การสื่อสารระบบเครือข่ายที่อาศัยดาวเทียมและสายเคเบิลใยแก้ว เรียกอีกอย่าง
หนึ่งว่า อินเตอร์เน็ท ก็ได้
เครือข่าย
เครือข่าย หมายถึง กลุ่มของคอมพิวเตอร์ และอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ถูกนำมาเชื่อมต่อกันดังนั้นเครือข่ายคอมพิวเตอร์จึงประกอบด้วยสื่อการติดต่อสื่อสาร อุปกรณ์ และซอฟต์แวร์ที่จำเป็นในการเชื่อมโยงคอมพิวเตอร์ตั้งแต่ 2 ระบบเข้าด้วยกัน รวมทั้งอุปกรณ์อื่น ๆ
ตัวอย่าง เช่น ระบบต่าง ๆ ดังนี้
1. LAN ( Local Area Network ) ระบบเครือข่ายระดับท้องถิ่น เป็นเน็ทเวิร์กในระยะทาง
ไม่เกิน 10 กิโลเมตร ไม่ต้องใช้โครงข่ายการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ คือนะเป็น
ระบบเน็ทเวิร์กที่อยู่ภายในองค์กรหรืออาคารเดียวกัน
2. MAN ( Metropolitan Area Network ) ระบบเครือข่ายระดับเมือง เป็นเน็ทเวิร์กที่ต้อง
ใช้โครงข่ายของการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์หรือการสื่อสารแห่งประเทศไทย เป็น
การติดต่อสื่อสาร กันในเมือง
3. WAN (Wide Area Network ) ระบบเครือข่ายระดับกว้างไกล หรือ เรียกกันว่าเป็น
World Wide ของระบบเน็ทเวิร์กโดยจะเป็นการสื่อสารกันในระดับประเทศ ข้ามทวีป
หรือทั่วโลก จะต้องใช้มีเดีย ( Media ) ในการสื่อสารขององค์การโทรศัพท์ หรือ
การสื่อสารแห่งประเทศไทย (คู่สายโทรศัพท์ dial-up line/ คู่สายเช่า leased line/ISDN
(Integrated Service Digital Network สามารถส่งข้อมูลให้ทั้งข้อมูลเสียงและภาพ ใน
เวลาเดียวกัน))
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
“เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หมายถึง เทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับข่าวสาร ขอมูล และการสื่อสาร นับตั้งแตการสราง การนํามาวิเคราะหหรือประมวลผลการรับและสงขอมูล การจัดเก็บ และการนําไปใชงานใหม เทคโนโลยีเหลานี้ มักจะหมายถึงคอมพิวเตอร ซึ่งประกอบดวย
สวนอุปกรณ (hardware) สวนคําสั่ง (software) และสวนขอมูล (data) และระบบการสื่อสารตางๆ ไมวาจะเปนโทรศัพท์ ระบบสื่อสารขอมูล ดาวเทียม หรือเครื่องมือสื่อสารใดๆ ทั้งมีสายและไรสาย”
ตัวอย่าง เช่น
1. ใชในรูปการพาณิชยของประเทศ เช่น
- การให้ข้อมูลข่าวสาร การสร้างเครือข่าย และการสั่งซื้อผลิตภัณฑ์OTOP
- การจองห้องพักผ่านระบบเครือข่าย
- การจองตั๋วเครื่องบินผ่านระบบเครือข่าย
2. ใช้ในการศึกษา เช่น การเปิดเครือข่าย school-net ให้แก่โรงเรียนต่าง ๆ ทั่ว
ประเทศให้มีโอกาสหาความรู้จากระบบอินเตอร์เน็ตได้เท่าเทียมกัน
3. ใช้ในการพัฒนาขั้นตอนและกระบวนการทำงานให้เกิดความกะทัดรัด
ประหยัด มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล เช่น
- การจัดทำบัตรประชาชน
- การรับคำร้องเรียนผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
- การให้ข้อมูลการท่องเที่ยวผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา
เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเพื่อการศึกษา Information & Communication Technology for Education หมายถึง การนำ เอาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ซึ่งประกอบด้วยเทคโนโลยีทางคอมพิวเตอร์และเครือข่ายโทรคมนาคมที่เชื่อมต่อกัน สำ หรับใช้ในการส่งและรับข้อมูล และมัลติมีเดียเกี่ยวกับความรู้ โดยผ่านกระบวนการประมวลหรือจัดทำ ให้อยู่ในรูปแบบที่มีความหมายและความสะดวกมาใช้ประโยชน์สำ หรับการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย เพื่อให้คนไทยสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
ตัวอย่าง เช่น
1. การเรียนทางไกล จัดให้มีศูนย์ข้อมูลสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Courseware Center)
2. การเรียนการสอนผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ (e-Learning)
3. หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (e-Book)
4. ห้องสมุดอิเล็กทรอนิกส์ (e-Librar
วันอาทิตย์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2552
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น