วันศุกร์ที่ 19 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2553

การพัฒนางานแนะแนวในสถานศึกษา

สมาชิกในกลุ่ม
1. นายประยูร รักษ์กำเนิด 024
2. นายจารุวัฒน์ เสนลิ้น 012
3. นายสุภาส มณีโชติ 046
4. นางสุปรางค์ทิพย์ หล้าหลั่น 061
5. นางสิริวรรณ มณีโชติ 062
6. นางนันทนา เสนลิ้น 064

การพัฒนางานแนะแนวในสถานศึกษา
แนวคิดเหล็กในการแนะแนว
               การแนะแนวช่วยให้บุคคลรู้จักตัวเอง รู้จักโลกรอบตัว ด้วยกลวิธีและเครื่องมือต่าง ๆ เพื่อให้สามารถตัดสินใจด้วยตนเองอย่างเหมาะสมและอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
ความหมายของกิจกรรมแนะแนว
             การแนะแนวหมายถึง กระบวนการหนึ่งซึ่งจะช่วยให้นักเรียนรู้จักและเข้าใจตนเอง รู้จักสภาพแวดล้อม สามารถเลือกตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเหมาะสม และสามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมและสถานการณ์ต่าง ๆได้
ปรัชญาของการแนะแนว การแนะแนวยึดหลัก
ปรัชญาต่อไปนี้
1. บุคคลแต่ละคนย่อมมีความแตกต่างกันทั้งทางร่างกาย สังคม อารมณ์ สติปัญญา ความสนใจ ความสามารถ ความถนัดและเจตคติ
2. บุคคลเป็นทรัพยากรที่มีค่าและมีศักยภาพแฝงอยู่ในตน ควรพัฒนาให้เจริญขึ้นทุกด้าน
3. บุคคลมีการเปลี่ยนแปลงในทุกด้าน การเปลี่ยนแปลงจะเป็นไปด้วยดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับปัจจัย
และสาเหตุการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ
4. พฤติกรรมทุกอย่างของบุคคลย่อมมีสาเหตุ การที่บุคคลแสดงออกอย่างใดหรือเป็นเช่นไร
ย่อมเกิดจากตนเองและสิ่งแวดล้อมเป็นเหตุ
5. บุคคลย่อมมีศักดิ์ศรีและต้องการการยอมรับซึ่งกันและกัน
6. ธรรมชาติของคนอยู่รวมกันเป็นสังคม จำเป็นต้องมีความสัมพันธ์และพึ่งพาอาศัยซึ่งกันและกัน
            โดยสรุปการแนะแนวหมายถึงการแนะแนวเป็นกระบวนการส่งเสริมและช่วยเหลือให้นักเรียนได้รู้จักตนเองเข้าใจสิ่งแวดล้อมสามารถเลือกตัดสินใจแก้ปัญหาและ ปรับตัวได้อย่างเหมาะสม ทั้งนี้เพื่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้เป็นคนได้โดยสมบูรณ์และอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข

หลักการของการแนะแนว
1. การแนะแนวควรจัดขึ้นเพื่อนักเรียนทุกคน
2. การแนะแนวควรจะเป็นการช่วยให้นักเรียนสามรถนำตนเองได้
3. การแนะแนวจะต้องมีข้อมูลของนักเรียนในด้านต่างๆตรงตามข้อเท็จจริงและเป็นปัจจุบัน
4. การแนะแนวจะต้องจัดอย่างต่อเนื่อง
5. การจัดการแนะแนวจะต้องมีการประสานงาน และร่วมมือในระหว่างบุคลากรทุกคนที่เกี่ยวข้องทั้งในและนอกโรงเรียน
6. การแนะแนวจะต้องทำควบคู่กันไปกับการจัดการเรียนการสอน
7. การแนะแนวควรจัดบริการต่างๆให้ครอบคลุมทั้งด้านการศึกษา ด้านอาชีพ ด้านส่วนตัวและสังคม

เป้าหมายของการแนะนว
            การแนะแนวมีเป้าหมายสำคัญอยู่ที่ตัวเด็ก โดยเน้นที่
1. การป้องกันปัญหา
2. การแก้ปัญหา
3. การส่งเสริมพัฒนาการทุกด้าน

เหตุผลและความจำเป็นในการพัฒนากิจกรรมแนะแนว
1. เด็กต้องเผชิญสิ่งแวดล้อมใหม่ในโรงเรียน ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ
2. เด็กกำลังพัฒนาในทุกด้าน ควรได้รับการส่งเสริมและสนับสนุน
3. สภาพสังคมและเศรษฐกิจทำให้นักเรียนและผู้ปกครองห่างเหินกัน
4. สภาพแวดล้อมทางสังคมทำให้นักเรียนเกิดความสับสน
5. นักเรียนต้องดิ้นรนเพื่อการเรียนและการเตรียมตัวในอาชีพมากขึ้น
การพัฒนากิจกรรมแนะแนวตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542
การพัฒนากิจกรรมแนะแนวตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 กำหนดไว้ ดังนี้
มาตรา 22 ระบุว่าการจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมีความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้ และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษาต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ
มาตรา 24 ระบุว่าการจัดกระบวนการเรียนรู้ ให้สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ
ดังต่อไปนี้
1. จัดเนื้อหาสาระและกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน
โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล
2. ฝึกทักษะ กระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์ และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกัน และแก้ไขปัญหา
3. จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ทำได้ คิดเป็นทำเป็น
รักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง
4. จัดการเรียนการสอนโดยผสมผสานสาระความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา
5. ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ ทั้งนี้ผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อการเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ
6. จัดการเรียนรู้ให้เกิดขึ้นได้ทุกเวลาทุกสถานที่ มีการประสานความร่วมมือกับบิดามารดา ผู้ปกครอง และบุคคลในชุมชนทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพ

จุดมุ่งหมายของการแนะแนว
           การแนะแนวมีความสำคัญมากจึงมีขอบข่ายที่กว้างขวางโดยเฉพาะในสถาบันการศึกษาทุกระดับดังนั้นความมุ่งหมายในการจัดบริการแนะแนวจึงควรเน้นทั้งด้านการป้องกันปัญหาการแก้ปัญหา และการส่งเสริมพัฒนาการแก่บุคคล ดังที่ ทองเรียน อมรัชกุล และคนอื่น ๆ (2528 : 54-55), พรหมธิดา แสนคําเครือ (2528 : 10)และ พนม ลิ้มอารีย์(2533 : 6) ได้กล่าวถึงจุดมุ่งหมายของการแนะแนว มีใจความสรุปได้ดังนี้
• เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รู้จักและเข้าใจตนเองในทุกด้านรู้จักพัฒนาตนเองนำความรู้ความสามารถหรือศักยภาพมาใช้ให้เป็นประโยชน์ เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหา อันจะทำให้เกิดความเจริญงอกงามในทุกด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย อารมณ์ สังคม และสติปัญญา
• เพื่อช่วยให้นักเรียนได้รู้จักปัญหาและวิธีการแก้ปัญหาเพื่อจะได้รู้จักวิธีการปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมในสังคมได้อย่างมีความสุข
• เพื่อช่วยให้ครูได้เข้าใจนักเรียนแต่ละคนซึ่งเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขปัญหาเพื่อส่งเสริมให้นักเรียนได้มีพัฒนาการเต็มตามศักยภาพ
• เพื่อช่วยให้ พ่อ แม่ ผู้ปกครอง ได้เข้าใจในตัวเด็กทั้งทางด้านร่างกายอารมณ์ สังคม สติปัญญา ความสามารถและปัญหาต่าง ๆ เพื่อหาทางส่งเสริมช่วยเหลือเด็กให้พ้นภัยจากปัญหาต่าง ๆ
             กล่าวโดยสรุป จุดมุ่งหมายสูงสุด คือ การทําให้บุคคลพัฒนาตัวเองอย่างดีที่สุดทั้งทางด้านร่างกายสติ ปัญญา อารมณ์ สังคมและจิตใจ และช่วยให้บุคคลช่วยเหลือตนเองได้ในทุกเรื่อง เรียนรู้ที่จะดํารงชีวิตอยู่อย่างมีความสุข
ประโยชน์ที่จะได้รับจากบริการแนะแนว

ประโยชน์แก่ผู้ปกครองหรือบิดามารดา
- ได้รับรู้และเข้าใจสถานภาพทางการเรียนของบุตรหลานของท่าน เมื่อท่านได้มีโอกาสปรึกษาหารือกับครูแนะแนว
- ได้รับข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสที่บุตรหลานของท่านจะได้เรียนต่อหรือออกไปประกอบอาชีพ
- รับรู้และเข้าใจสภาพปัญหาของเด็กวัยรุ่นเพื่อจะได้ให้ความร่วมมือกับโรงเรียนในการปรับปรุงพฤติกรรมของบุตรหลานของท่านต่อไป

ประโยชน์ต่อนักเรียน
- ช่วยให้นักเรียนรู้จักตนเองดีขึ้นและสามารถปรับปรุงตนเองในด้านการเรียน สังคมอารมณ์และสติปัญญา
- ช่วยให้นักเรียนตัดสินใจได้ด้วยตนเองอย่างฉลาดและมีเหตุผล
- ช่วยให้นักเรียนเข้าใจสาเหตุของปัญหาและวิธีแก้ปัญหาเพื่อสามารถดำเนินชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมายและอยู่ใสังคมอย่างมีความสุข

ประโยชน์แก่ครู
- ช่วยครูให้เข้าใจถึงปัญหาและสาเหตุของปัญหารวมทั้งหาวิธีแก้ปัญหานั้น
- ช่วยครูในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
- ช่วยครูในการศึกษานักเรียนทำให้รู้จักนักเรียนดีขึ้น
ประโยชน์แก่โรงเรียน
- ช่วยโรงเรียนในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับความต้องการและความสนใจของนักเรียน
- ช่วยลดปัญหาต่าง ๆ เช่นปัญหานักเรียนเรียนไม่จบหลักสูตร หรือปัญหานักเรียนเรียนอ่อน หรือหนีเรียน เป็นต้น

บริการหลักที่งานแนะแนวจัดให้นักเรียน

             กระทรวงศึกษาธิการ ได้กำหนดขอบข่ายการบริหารงานแนะแนวในโรงเรียนประถมศึกษา มี 5 บริการ คือ 1. บริการศึกษาและรวบรวมข้อมูล 2. บริการให้คำปรึกษา 3. บริการสนเทศ 4. บริการจัดวางตัวบุคคล 5. บริการติดตามผลและประเมินผล (พรหมธิดา แสนคําเครือ,2528 : 12-15; กรมวิชาการ,2532 : 4-5และพนม ลิ้มอารีย์ ,2533 : 235-237) โดยมีรายละเอียดพอสังเขป คือ
1. บริการรวบรวมข้อมูลและศึกษานักเรียนเป็นรายบุคคล หมายถึง การศึกษา สำรวจ รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียนด้านการศึกษา อาชีพ บุคลิกภาพ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งเมื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์ และจัดระบบแล้ว จะทำให้ครูรู้จักนักเรียน และสามารถให้ความช่วยเหลือ ส่งเสริมและพัฒนาได้อย่างถูกต้อง ทั้งสามารถช่วยให้นักเรียนได้เข้าใจตนเองและยอมรับตนเองอีกด้วย เป็นบริการที่จำเป็นพื้นฐานในการที่จะให้ความช่วยเหลือนักเรียนได้ถูกต้อง เพราะจะทำให้ได้ทราบปัญหา หรือ ข้อบกพร่องในตัวนักเรียน เพื่อดำเนินการแก้ไขได้ถูกต้องและนำข้อมูลที่ได้ศึกษามาเป็นองค์ประกอบในการจัดบริการอื่น ๆ ต่อไป งานบริการด้านนี้ได้แก่
- บันทึกประวัตินักเรียนทุกคนไว้ในระเบียนสะสมบริการข้อมูลแก่ผู้ที่เกี่ยวข้อง
- ทดสอบความถนัด ความสนใจของนักเรียน
- สำรวจพฤติกรรมที่มีปัญหาของนักเรียน
2. บริการให้คำปรึกษา หมายถึง การให้ความช่วยเหลือ ความใกล้ชิด ความอบอุ่น ความมั่นใจ อันจะช่วยให้นักเรียนสามารถตัดสินใจและเลือกได้อย่างฉลาด ถูกต้อง เหมาะสมกับสภาพปัญหาความต้องการ เป็นบริการที่นับว่าเป็นหัวใจสำคัญของงานแนะแนว โดยเฉพาะการเรียนการสอนตามหลักสูตรใหม่ และในสภาวะเศรษฐกิจและสังคมยุคปัจจุบัน งานบริการในด้านนี้ คือ
- ให้คำปรึกษานักเรียนที่มีปัญหาด้านส่วนตัว การเรียน และอาชีพ
- ศึกษาและหาทางช่วยให้นักเรียนแก้ปัญหาของตนเองได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
- เสนอแนะแนวทางปฏิบัติตน เพื่อเสริมสร้างบุคลิกภาพ
บริการให้คำปรึกษาจะช่วยผ่อนคลายความเครียดในจิตใจของนักเรียนและ ผู้ปกครองโดย อาจารย์แนะแนวมีจรรยาบรรณที่จะ "รักษาความลับของนักเรียน" ฉะนั้นการเข้าไปคุยกับครูแนะแนวจึงเป็นเรื่องที่เด็กฉลาดควรทำ ไม่ควรคิดผิด ๆ ว่า"เฉพาะเด็กที่มีปัญหาเท่านั้นที่จะเข้าห้องแนะแนว" อาจารย์แนะแนวพร้อมที่จะเป็นคู่คิด เป็นที่ปรึกษาทั้งการเลือกวิชาเรียนการศึกษาต่อ การหางานทำ หรือปัญหาส่วนตัว งานแนะแนวยินดีช่วยนักเรียนเสมอ
3. บริการสนเทศ หมายถึง การให้ข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ เพื่อให้นักเรียนเกิดการพัฒนา เป็นกิจกรรมหนึ่งที่ต่อเนื่องจากบริการศึกษาและรวบรวมข้อมูล อันจะช่วยให้นักเรียนได้รับข้อมูล ข่าวสาร ความรู้ที่ตรงกับความต้องการในการส่งเสริม พัฒนา ตลอดจนแก้ไขปัญหาอย่างเหมาะสม เป็นบริการให้ความรู้แก่นักเรียนในหลายรูปแบบ เพื่อช่วยให้นักเรียนสามารถปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ต่าง ๆ ได้ รู้จักตัดสินใจ และวางแผนอนาคตอย่างฉลาด ได้แก่
- การจัดสอนให้ความรู้ต่าง ๆ ในคาบกิจกรรมแนะแนว
- การจัดป้ายนิเทศ
- การจัดทำเอกสารที่เป็นประโยชน์แก่นักเรียน
- การจัดอภิปราย บรรยาย ให้ความรู้ในด้านการศึกษาอาชีพ และการปรับตัวในสังคม
- การจัดวันอาชีพ
- การจัดสัปดาห์แนะแนวทางศึกษาต่อ
- การจัดฉายภาพยนต์ วีดีโอ สไลด์ที่เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน
- จัดปฐมนิเทศ และปัจฉิมนิเทศ
4. บริการจัดวางตัวบุคคล หมายถึง การให้นักเรียนได้รับประสบการณ์ตรง หรือฝึกฝนทักษะในเรื่องที่ตนสนใจ การจัดบรรยากาศ สิ่งแวดล้อม ตลอดจนกิจกรรมให้ นักเรียนได้รับประสบการณ์ดังกล่าวนั้น โดยจัดให้สอดคล้อง ต่อเนื่องกับกระบวนการเรียนการสอน ทั้งสอดคล้องกับผลจากการวิเคราะห์ข้อมูล ความสนใจ ความต้องการ
5. บริการติดตามประเมินผล หมายถึง การปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องจากบริการต่าง ๆ ที่กำหนด เพื่อติดตาม ดูแลว่านักเรียนมีสิ่งใดที่ต้องปรับปรุง แก้ไข พัฒนา ตลอดจนติดตามการจัดกิจการต่าง ๆ ว่าสัมฤทธิ์ผลเพียงใด มีสิ่งใดต้องปรับปรุงให้มีคุณภาพยิ่งขึ้น (http://www.skn.ac.th/skl/skl701.htm)
ในการจัดบริการแนะแนวจะประกอบด้วยการบริการหลักทั้ง 5 บริการ ซึ่งเป็นกระบวนการที่มีขั้นตอนต่อเนื่อง นักแนะแนวได้กำหนดโครงสร้างและความสัมพันธ์ของงานบริการแนะแนวสอดคล้องกัน ดังนี้
(พรหมธิดา แสนคําเครือ,2528 : 12-15; กรมวิชาการ,2532 : 4-5และพนม ลิ้มอารีย์ (2533 : 235-237)
• บริการสนเทศ
• บริการสำรวจและศึกษาข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล
• การให้คำปรึกษา
• บริการติดตามผล
• การจัดวางตัวบุคคล
สรุปการบริการทั้ง 5 ได้ดังนี้
บริการ จุดมุ่งหมาย วิธีการ
1.บริการสำรวจและศึกษาข้อมูลนักเรียนเป็นรายบุคคล เพื่อรู้จักเด็กทุก ๆ ด้าน สังเกต ระเบียนพฤติกรรม มาตราส่วน ประมาณค่า การสัมภาษณ์ แบบสอบถาม การทดสอบ การทำสังคมมิติ การเยี่ยมบ้าน
การศึกษาเด็กเป็นรายกรณี อัตชีวประวัติ ระเบียนสะสม
2. การบริการสนเทศ เพื่อให้ข่าวสารความรู้ที่จำเป็น แก่นักเรียนเกี่ยวกับการศึกษา อาชีพ สังคม วัฒนธรรม และ สิ่งแวดล้อมต่าง ๆ อภิปราย บรรยาย หรือการจัดกิจกรรมใน รูปแบบของนิทรรสการการศึกษานอก สถานที่ การสาธิต การจัดรายการวิทยุ  โทรทัศน์
3. บริการให้คำปรึกษา เพื่อช่วยให้บุคคลหรือนักเรียนมองเห็นช่องทางในการ
ตัดสินใจและสามารถแก้ปัญหา ด้วยตนเองด้วยวิธีที่ฉลาดและ เหมาะสม ให้คำปรึกษาเป็นรายบุคคลและให้ คำปรึกษาเป็นกลุ่ม
4. บริการจัดวางตัวบุคคล เพื่อช่วยให้บุคคลหรือนักเรียนได้มีโอกาสแสดงตามพฤติกรรมหรือได้
ประสบการณ์และการเรียนรู้ที่ถูกต้องเหมาะสม การจัดเด็กเข้าโครงการเรียนและชุมชน ต่าง ๆ การจดทุนการศึกษา การจัดสอน ซ่อมเสริม การจัดโครงการอาหารกลางวัน จัดบริการฝึกงาน และทำงาน ฯลฯ
5. บริการติดตามผล เพื่อติดตามผลงานในด้านต่าง ๆ ของบริการแนะแนวและติดตามผลพฤติกรรมของบุคคลหรือเด็ก ว่าควรได้รับการแนะแนวเพิ่มเติมหรือไม่เพียงใด การสังเกต การสัมภาษณ์ การใช้ แบบสอบถาม

บทบาทหน้าที่ของครูในการจัดกิจกรรมแนะแนว
                 ครูอาจารย์นับเป็นผู้ที่มีบทบาทมากที่สุด ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาของเยาวชนในโรงเรียน ซึ่งเป็นความหวังอันสำคัญว่าจะช่วยนำเยาวชนไปสู่ทิศทางที่เหมาะสม และในการใช้กระบวนการแนะแนวหรือการจัดบริการแนะแนว ในการป้องกันและแก้ปัญหาในโรงเรียน ครูจึงเป็นผู้ที่มีหน้าที่โดยตรง เพราะครูมีบทบาทหน้าที่ในการศึกษา ปัญหา และพฤติกรรมนักเรียน รวมทั้งการจัดบริการต่าง ๆ เพื่อช่วยเหลือนักเรียนอย่างเป็นระบบและอย่างมีหลักวิชาฉะนั้น จึงกล่าวได้ว่า บทบาทของครูมีความจำเป็น และมีความสำคัญต่อการดำเนินกิจกรรมแนะแนว มีนักวิชาการหรือหน่วยงานต่าง ๆ ได้สรุปหน้าที่ของครูไว้ดังนี้
วัชรี ทรัพย์มี (2523 : 107-109) ได้สรุปรุปบทบาทของครูแนะแนวในโรงเรียนไว้ดังนี้คือ จัดบริการแนะแนวให้แก่นักเรียน ประสานงานกับผู้บริหาร ครู บุคลากร อื่น ๆ ในโรงเรียน ผู้ปกครอง บุคคลในชุมชนและสถาบันอื่น ๆ ประเมินผลงานแนะแนวและการวิจัยตลอดจนการ เผยแพร่กิจกรรมการแนะแนว
กรมวิชาการ กระทรวงศึกษาธิการ(2532 : 9-10) ได้กล่าวว่า ในการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของครูแนะแนวที่คุรุสภากำหนดในฐานะครูสายสนับสนุนการสอน (บริการ) ในตําแหน่งครูแนะแนวไว้ดังต่อไปนี้
• จัดระบบการทําระเบียนสะสม และระเบียนพฤติกรรมของนักเรียนทุกคนที่ รับผิดชอบ
• ตรวจสอบบุคลิกภาพของนักเรียน และแนวทางแก้ไขบุคลิกภาพที่ไม่พึงประสงค์ ตามหลักการแนะแนว สอนและอบรมตามที่ได้รับมอบหมาย
• รวบรวมข้อมูลจากแบบสอบถาม แบบทดสอบ เพื่อใช้ประกอบการให้คำแนะนำแก้ไขปัญหา แก่ครูผู้ปรึกษา
• แนะแนวเรื่องส่วนตัว การเลือกวิชาเรียน การเลือกวิชาชีพ และการศึกษาต่อ
• แนะแนวปฏิบัติต่อครูที่ปรึกษาในการดูแลสุขภาพอนามัย การแก้ปัญหาส่วนตัวและการเรียน
• ร่วมมือกับบรรณารักษ์จัดเอกสารประเภทแนะแนว การจัดนิทรรศการแนะแนวเพื่อให้นักเรียนสามารถปรับตัวเข้ากับระเบียบของสังคม
• ติดต่อกับผู้ปกครองนักเรียนเกี่ยวกับความเป็นอยู่ในบ้านและติดตามนักเรียนที่ออกจากโรงเรียน
• ทํารายงานผลการเรียนและความประพฤติของนักเรียนให้ผู้ปกครองทราบ
              สรุปได้ว่าครูแนะแนวในโรงเรียนมีหน้าที่จัดบริการต่าง ๆ โดยใช้กระบวนการแนะแนว ทั้งนี้เพื่อจุดมุ่งหมายในการพัฒนานักเรียนเป็นสำคัญเพื่อให้นักเรียนมีสติปัญญาความรู้ความสามารถ ในการพัฒนา ตนเอง และสังคม ให้เจริญขึ้น ครูแนะแนวมีหน้าที่ในการศึกษาปัญหา และพฤติกรรมนักเรียน โดยใช้กระบวนการแนะแนว เพราะพฤติกรรมดังกล่าว เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนานักเรียน ส่งผลกระทบต่อสังคมโดยส่วนรวม และการป้องกันแก้ไขปัญหานักเรียนจะต้องทำงานร่วมกันของบุคลากรในโรงเรียน โดยเฉพาะครอบครัวของนักเรียนและชุมชนที่นักเรียนอาศัยอยู่ เพื่อให้ครอบครัวและ ชุมชนได้มีบทบาทร่วมกับโรงเรียนในการพัฒนานักเรียน ซึ่งงานดังกล่าวจัดว่าเป็น ภารกิจของครูเช่นกัน บทบาทของบุคลากรฝ่ายต่าง ๆ ที่มีต่องานบริการแนะแนวในโรงเรียน การจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน จะประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์หรือไม่ ย่อมขึ้นอยู่กับบุคลากรทุกฝ่ายในโรงเรียน ซึ่งมีนักแนะแนวได้กล่าวไว้ดังต่อไปนี้
ผ่องพรรณ เกิดพิทักษ์ (2529 : 38-41) กล่าวถึง บทบาทของบุคลากรต่าง ๆ ไว้ว่า
• บทบาทของผู้อํานวยการจะต้องให้ความสนใจกระบวนการแนะแนวในทุก ๆ ด้านให้การสนับสนุนงานแนะแนว จัดตั้งคณะกรรมการแนะแนวรับผิดชอบในการวางโครงการปฏิบัติงานและปรับปรุงงานจัดหาวัสดุอุปกรณ์เครื่องมือ สถานที่ให้ความรู้ประสบการณ์แก่ครูแนะแนว ให้สอดคล้องกับงานด้านอื่น ๆ ของโรงเรียน

• บทบาทของครูในฐานะของผู้แนะแนว ครูประจำชั้นควรจะเข้าใจปรัชญาวัตถุประสงค์ของการแนะแนว เข้าใจพฤติกรรมของเด็กและบุคคลอื่น ๆ ยอมรับในบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบของตนที่มีต่อบริการแนะแนว จัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อส่งเสริมพัฒนาการของนักเรียนเข้าใจคุณประโยชน์ของบริการแนะแนวปรึกษาหารือกับครูผู้ปกครอง นักเรียนเพื่อพัฒนางานแนะแนว
• บทบาทครูแนะแนวหรือผู้ให้คำปรึกษา มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงต่องานแนะแนวและให้คำปรึกษาได้แก่การวางแผนให้การสนับสนุนโปรแกรมการแนะแนวจัดดำเนินการอบรมด้านการแนะแนวแก่บุคลากรในโรงเรียน
พนม ลิ้มอารีย์ (2533 : 255-163) ได้กล่าวถึงบทบาทของบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับการแนะแนวไว้ดังนี้
• บทบาทของผู้บริหารโรงเรียนเป็นผู้นำริเริ่มงานกำหนดนโยบายงานแนะแนวในโรงเรียน แต่งตั้งคณะกรรมการแนะแนว ให้การสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ งบประมาณ สถานที่ ประชาสัมพันธ์ประเมินผลและปรับปรุงบริการแนะแนวอย่างต่อเนื่อง
• บทบาทของครูประจำชั้น ศึกษาทําความเข้าใจวัตถุประสงค์ขอบข่ายของโครงการแนะแนว ให้ความร่วมมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับตัวนักเรียน ประสานงานประชาสัมพันธ์งานแนะแนว จัดส่งนักเรียนที่สมควรได้รับคำปรึกษา เป็นสื่อกลางระหว่างบ้านและโรงเรียน
• บทบาทของครูแนะแนว เป็นผู้นำในการดำเนินงานบริการแนะแนวในโรงเรียนประสานงานร่วมกับผู้บริหารโรงเรียนในการจัดโครงการบริการแนะแนว ประชาสัมพันธ์สนับสนุนให้บุคลากรในโรงเรียนและนอกโรงเรียนสนใจงานแนะแนวติดต่อขอความร่วมมือจากหน่วยงาน บุคลากรนอกโรงเรียนทำหน้าที่วิจัยและประเมินผลงานแนะแนว
• บทบาทของผู้ปกครอง ให้ความร่วมมือให้ข้อมูลรายละเอียดเกี่ยวกับตัวเด็กให้การสนับสนุนกิจกรรมการเรียนการสอนของเด็กสนับสนุนเด็กในปกครองให้รับบริการแนะแนวอยู่เสมอ

                   สรุปได้ว่า บุคคลที่มีบทบาทสำคัญอย่างมากในการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน ได้แก่ ผู้บริหารโรงเรียน ครูแนะแนว ครูผู้สอน และผู้ปกครอง บุคคลต่าง ๆ นี้จะมีหน้าที่เฉพาะแตกต่างกันแต่ละคน ดังนั้นถ้าบุคคลหรือทุกฝ่ายให้ความร่วมมือปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องจริงจัง บริการแนะแนวก็จะมีประโยชน์ต่อตัวนักเรียนมากที่สุด

ลักษณะของการพัฒนากิจกรรมแนะแนว
           โรงเรียนสามารถพัฒนากิจกรรมแนะแนวได้ 5 ลักษณะ ดังนี้

1. ปรับกิจกรรมการเรียนการสอนหรือจัดกิจกรรมเสริม ให้สอดคล้องกับสภาพและความต้องการของผู้เรียนโดยไม่ทำให้จุดประสงค์ เนื้อหา คาบเวลาเรียนเปลี่ยนไป
2. ปรับรายละเอียดของเนื้อหา ด้วยการเพิ่ม ลดหรือปรับรายละเอียดของเนื้อหา โดยไม่ทำให้จุดประสงค์และคาบเวลาเรียนเปลี่ยนแปลงไปจากหลักสูตรแม่บท
3. พัฒนาสื่อการเรียนการสอน โดยการเพิ่มเติม ตัดทอนสื่อต่างๆ ที่มีอยู่ เพื่อให้เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพผู้เรียน สอดคล้องกับจุดประสงค์และ เนื้อหาที่หลักสูตรกำหนด
4. จัดทำสื่อการเรียนการสอนขึ้นใหม่ โดยจัดทำหนังสือเรียน คู่มือครู หนังสือเสริมประสบการณ์ แบบฝึกหัดและเอกสารประกอบการเรียนการสอนให้ สอดคล้องกับจุดประสงค์ เนื้อหา และสภาพของผู้เรียน
5. จัดทำคำอธิบายรายวิชาขึ้นใหม่ เป็นการพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมแนะแนว) ด้วยการจัดทำคำอธิบาย หรือทำรายวิชาเพิ่มเติมจากที่ปรากฏในหลักสูตร

กระบวนการพัฒนากิจกรรมแนะแนว
              กระบวนการหรือขั้นตอนสำคัญในการพัฒนากิจกรรมแนะแนว มีดังนี้

ขั้นที่ 1 การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
1.1 การศึกษาแนวโน้มการพัฒนา
1.2 การสำรวจความต้องการของผู้เรียน
1.3 การศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรแกนกลาง
1.4 การวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน

ขั้นที่ 2 การกำหนดแนวทางการพัฒนากิจกรรมแนะแนว
ขั้นที่ 3 การจัดทำสาระของกิจกรรมแนะแนว
3.1 ชื่อกิจกรรม
3.2 หลักการและเหตุผลในการจัดทำกิจกรรม
3.3 หลักการ
3.4 จุดประสงค์
3.5 โครงสร้างและขอบเขตของเนื้อหา
3.6 การจัดกระบวนการเรียนรู้
3.7 การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน
3.8 การวัดผลประเมินผล
3.9 เกณฑ์การวัดผลประเมินผล

ขั้นที่ 4 การจัดทำแผนการสอน
ขั้นที่ 5 การตรวจสอบคุณภาพของกิจกรรม
ขั้นที่ 6 การนำหลักสูตรท้องถิ่นไปใช้
ขั้นที่ 7 การประเมินผล ปรับปรุงแก้ไข

การศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน
การพัฒนากิจกรรมแนะแนว ควรศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐาน ดังต่อไปนี้

1.1 ศึกษาแนวโน้มการพัฒนา
1.2 สำรวจความต้องการของผู้เรียน
1.3 ศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรแกนกลาง
1.4 วิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน

การศึกษาแนวโน้มการพัฒนา

                 การศึกษาแนวโน้มของการพัฒนา เป็นการศึกษาสภาพของสังคมที่ ท้องถิ่นนั้นตั้งอยู่ว่า มีแนวโน้มของการพัฒนาไปในทิศทางใด ผลที่ได้จากการศึกษาแนวโน้มของการพัฒนาจะช่วยให้ท้องถิ่นมองเห็นลู่ทางหรือแนวทางของการที่จะ ลงมือพัฒนาในเรื่องใดเรื่องหนึ่งกับแนวโน้มของการเปลี่ยนแปลงนั้น ในขณะเดียวกันผลจากการศึกษาทำให้ท้องถิ่นได้ทราบข้อจำกัดต่าง ๆ ที่มีอยู่ในชุมชนหรือสังคม อันอาจเป็นอุปสรรคของการพัฒนา และทราบโอกาสที่จะทำให้การพัฒนาเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ การศึกษาความต้องการของท้องถิ่น เป็นการศึกษาหรือสำรวจความต้องการของผู้รับบริการในชุมชนที่ท้องถิ่นตั้งอยู่ ซึ่งได้แก่ นักเรียน ผู้ปกครอง พ่อค้า ข้าราชการ ประชาชน ฯลฯ ว่ามีความต้องการในเรื่องใด อย่างไร และมากน้อยเพียงใด โดยเฉพาะในเรื่องการศึกษา ผลที่ได้จากการศึกษาตามขั้นตอนนี้ นำมาใช้ประกอบการพิจารณากำหนดแนวทางในการดำเนินงานพัฒนากิจกรรมแนะแนวให้สอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น

การศึกษาทำความเข้าใจหลักสูตรแกนกลาง
               หลักสูตรเป็นเครื่องมือในการแปลงจุดมุ่งหมายและนโยบายทางการศึกษาของชาติสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา หลักสูตรจะเป็นเครื่องชี้นำทางในการจัดความรู้และประสบการณ์แก่ผู้เรียน หลักสูตรจึงเป็นหัวใจสำคัญของการศึกษา และเป็นเครื่องชี้วัดถึงความเจริญของชาติ ถ้าพิจารณาแล้วจะพบว่า แผนการศึกษาชาติ นโยบายการศึกษา และหลักสูตร มีความสัมพันธ์กันเรียงตามลำดับ ถ้าท้องถิ่นหรือโรงเรียนดำเนินการจัดการศึกษาตามจุดหมายของหลักสูตรได้ครบ แสดงว่าได้ตอบสนองนโยบายการศึกษาและความมุ่งหมายในแผนการศึกษาแห่งชาติได้ครบถ้วน
                ผลที่ได้จากการศึกษาหลักสูตรแกนกลางสามารถนำมากำหนดเป็น แนวดำเนินการในการพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นได้ว่าจะพัฒนาหลักสูตรท้องถิ่นใน กลุ่มประสบการณ์/รายวิชาใด เรื่องใดได้บ้าง และควรมุ่งเน้นคุณลักษณะที่พึงประสงค์ของผู้เรียนในเรื่องใดบ้าง

ขั้นตอนการวิเคราะห์ศักยภาพของโรงเรียน
               การศึกษาศักยภาพของโรงเรียน เป็นการศึกษาสภาพของโรงเรียนในด้านต่าง ๆ เช่น ด้านบริหาร วิชาการ บุคลากร ทรัพยากร วัสดุอุปกรณ์ ฯลฯ ว่ามีความพร้อมหรือไม่พร้อมในด้านใดมากน้อยเพียงใด ผลจากการศึกษาตามขั้นตอนนี้จะทำให้ท้องถิ่นทราบถึงความพร้อม ไม่พร้อม จุดเด่น จุดด้อยหรือจุดพัฒนาของโรงเรียน
จุดเด่นจุดด้อยของการสรุปศักยภาพของโรงเรียนสามารถนำไปใช้ใน การพิจารณาตัดสินใจพัฒนากิจกรรมแนะแนว ถ้าเน้นจุดเด่นอาจพิจารณาพัฒนาเสริมให้มีความสมบูรณ์ยิ่งขึ้น โดยมีจุดเด่นนั้นเป็นสิ่งสนับสนุน ถ้าเน้นจุดด้อยอาจจะพิจารณาพัฒนาเพื่อการปรับปรุงแก้ไขให้ตรงกับความเหมาะสมและความต้องการ
                การกำหนดแนวทางการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมแนะแนว)
เมื่อมีการวางแผน โดยการศึกษาแนวโน้มในการพัฒนา ความต้องการของผู้เรียน หลักสูตรแกนกลาง และศักยภาพของโรงเรียนแล้ว ต้องนำผลที่ได้ทั้งหมดมากำหนดเป็นเป้าหมายของการพัฒนาในอนาคต ต้องพิจารณาให้สอดคล้องกับเงื่อนไขหรือสภาพที่ควรจะเป็น และมีโอกาสที่จะพัฒนาได้สำเร็จ จากนั้นจึงวิเคราะห์หาแนวปฏิบัติอันนำไปสู่เป้าหมายที่กำหนดไว้ ควรพิจารณาตัดสินใจเลือกแนวปฏิบัติที่ท้าท้ายและเหมาะสมสอดคล้องกับเงื่อนไขหรือศักยภาพและแนววิธีการจัดการศึกษา
นำแนวปฏิบัติที่ตัดสินใจเลือกมากำหนดเป็นเรื่องที่จะพัฒนาหลักสูตรกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน (กิจกรรมแนะแนว) นำแนวปฏิบัติของแต่ละองค์ประกอบมาพิจารณาร่วมกันกำหนดแนวทางการพัฒนา

               กล่าวโดยสรุป บุคลากรทุกคน ทุฝ่ายในโรงเรียน รวมถึงผู้ปกครองและชุมชน เป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในการจัดบริการแนะแนวในโรงเรียน ดังนั้นถ้า ทุกคนหรือทุกฝ่าย ให้ความร่วมมือปฏิบัติหน้าที่ของตนอย่างถูกต้องจริงจัง งานแนะแนวก็จะมีประโยชน์ต่อตัวนักเรียนมากที่สุด

อ้างอิง

www.ayutthaya2.org/km/index.php?name/
210.246.188.53/trang1kmc/modules.php?name...
www.obec.go.th/
www.eduzones.com/link/link_advice.html
www.guidance.go.th/
www.eduzones.com/link/link_advice.html
www.rmutl.ac.th/office.php?id=guidance

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น